เกริ่นนำ

........สวัสดีท่านผู้ชมที่เข้ามาชมบล็อกนี้ ซึ้งเป็น Blogger นี้ ซึ้งเป็นสื่อประกอบการเรียน วิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนการศึกษา 2558 โดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติกับเว็บบล็อก มีความสะดวกสบายทำได้ข้อมูลความรู้ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพที่เกียวข้องกับความเป็นครู ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึดษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรานำข้อมูลจากการศึกาาค้นคว้วอย่างกว้างไกล มาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ จึงหวังว่า Blogger นี้เป็นจะประโยชน์ไม่มากก็น้อย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

สถาบันและองค์กร (วิชาชีพครู)
สถาบันและองค์กร
แนวคิด
องค์กร
  องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู  มีหลักๆ๓  องค์กร คือ
            องค์กรผลิตครู หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
            องค์กรใช้ครู สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล  โรงเรียนเอกชน  หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
            องค์กรวิชาชีพครู องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
    ลักษณะขององค์กร  :
            ๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
            ๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
            ๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
            ๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
            ๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
            ๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ
  ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ
            ๑. ครุสภาเก่า
            ๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
  ๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น  สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย  สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น
            ๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
  เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
            ๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน
            ๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)
       บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)
๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
            ๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสม
            ๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
            ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
            ๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
            ๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
            ๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง
๒. สถาบัน
            - สถาบันเป็นสิ่งที่สำคมจัดตั้ง  เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม  เป็นความจำเป็นที่ต้องมีของสังคม
     องค์ประกอบความเป็นสถาบัน
           - จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสังคมยอมรับ
            - มีกฎหมายรองรับ มีระเบียบวิธีการ
            - มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
            - มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ
            *สถาบันวิชาชีพครู  ส่งเสริมศักดิ์ศรี  สร้างความเชื่อมั่น และ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม
            * ผู้ประกอบวิชาชีพ ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ และ ปกป้องสถาบัน

คุณลักษณะของวิชาชีพครู
จากการศึกษางานวิจัย และค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ  พบว่าครูที่ดีควรมีคุณลักษณะที่จำเป็น 3 ด้านต่อไปนี้
ด้านคุณลักษณะ
1.             มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ
2.             ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียน ทั้งด้านศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย ตลอดจนมีความเป็นประชาธิปไตย
3.             ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4.             มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์
5.             มีสุขภาพสมบูรณ์
6.             มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
7.             มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้
8.             สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง9.             สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ
1.             เป็นครูที่เน้นความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเป็นหลัก แนะนำผู้เรียนสามารถพัฒนาเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างสรรค์ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง
2.             รู้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพราะการศึกษายุคใหม่เป็นการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์มากขึ้น
3.             เป็นครูที่ต้องไปหานักเรียนมากขึ้น เข้าเยี่ยมชุมชนได้มากขึ้น
ด้านความรู้ของครู
1.             มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น
2.             มีความรู้ด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้
3.             มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดและประเมินผล และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.             รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว และเรื่องราวในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
ด้านการถ่ายทอดความรู้
1.             สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือใช้ในการเรียนรู้ต่อไป
2.             สามารถอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย รวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข

คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป
เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ.2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,  2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า  ........
ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ
-          ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
-          ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
-          ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
-          ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
-          ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
-            ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
-          ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ
-          ต้องมีเมตตา  และหวังดี
-          ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
-          ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูไทย
องค์กรการผลิตครู
หมายถึงหน่วยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรทางการศึกษา องค์กรผลิตครูของประเทศไทยเริ่มจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อเรียนวิชาครูครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2453 บริเวณโรงเลี้ยงเด็กสะพานดำ
องค์กรใช้ครู
หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดต่างๆ ทั้งที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เทศบาล กรุงเทพมานคร และโรงเรียนเอกชนในควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่อให้ความรู้ และการศึกษาในรูปแบบต่างๆในสังกัดกระทรวง ทบวงอื่นๆ
องค์กรวิชาชีพครู

หมายถึง องค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้น ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมต่างๆทีเกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ

อ้างอิง 
1. https://sites.google.com/site/orathaieducation/home/khunlaksna-thi-di-khxng-khru

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น